ข่าวทั่วไปพาดหัวข่าว

กทพ.รับฟังความคิดเห็นโครงการสะพานข้ามเกาะช้าง จ.ตราดเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย

ข่าว / กทพ.รับฟังความคิดเห็นโครงการสะพานข้ามเกาะช้าง จ.ตราดเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย
วันที่ 3 ก.ย.67 ณ ห้องประชุมโรงแรม อัยยะปุระ รีสอร์ท แอนด์ สปา อ.เกาะช้าง จ.ตราด นายกาจผจญ อุดมธรรมภักดี รองผู้ว่าการ กทพ. พร้อมเจ้าหน้าที่จากทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม และผู้เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (การปฐมนิเทศโครงการ) งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้าง โดยมี ผู้นำชุมชน-ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ-ประชาชน-ส่วนราชการ-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาเข้าร่วมกว่า 200 คน โดยมี นายนริศ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา นายอำเภอเกาะช้าง เป็นประธานเปิดการประชุมฯ เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลโครงการอย่างรอบด้าน เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่สนใจ ได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลโครงการ และได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เพื่อจะได้นำข้อมูลไปประกอบการดำเนินงานศึกษาต่อไป เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำเนินงานศึกษาความเหมาะสม
สืบเนื่องมาจากกระทรวงคมนาคม ได้มีข้อสั่งการ ลงวันที่ 10 ก.พ.66 มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ประสานกับกรมทางหลวงชนบท ดำเนินการสำรวจศึกษาและออกแบบโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้าง (สะพานข้ามเกาะช้าง) เพื่อเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านการคมนาคมของชาวเกาะช้าง และนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว จะต้องรอคิวลงเรือข้ามฟากเป็นเวลานาน 3-4 ชั่วโมง รวมทั้งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชนชาวเกาะช้าง โดยเฉพาะการนำผู้ป่วยไปรักษาพยาบาลยังสถานพยาบาลของรัฐ ที่มีอุปกรณ์ทันสมัยในตัวเมืองตราด และต่างจังหวัด ในช่วงที่ผ่านมาชาวบ้านจะต้องมีการเช่าเหมาเรือเพื่อนำผู้ป่วยไปรักษาพื้นที่ฝั่ง 12,000 บาทต่อเที่ยว และการส่งลูกหลานเข้ามาเรียนหนังสือในตัวเมืองตราดได้รับสะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับ จ.ตราด เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ อำนวยความสะดวกด้านพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรมอีกด้วย
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จึงได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วย บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัท เทสโก้ จำกัด บริษัท เอ็ม เอ เอ 2/3 คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด และบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินงานศึกษาความเหมาะสม ทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้าง (สะพานข้ามเกาะช้าง) เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ประชาชนได้รับความสะดวก ปลอดภัย ในการเดินทางระหว่างเกาะช้าง-ฝั่ง รวมทั้งเกิดผลดีโดยภาพรวมด้านการท่องเที่ยว โดยมีระยะเวลาดำเนินการศึกษา 24 เดือน ( 2 ปี ) ครอบคลุมการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ความเหมาะสม โดยให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนโครงการ ซึ่งจะดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จในราวปี 2569
ซึ่งการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จะดำเนินการในขั้นตอนการขออนุมัติโครงการต่อไป โดยจะมีการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์โครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชนควบคู่ไปด้วย โดยจะมีการรวบรวมข้อมูลต่างๆโดยพิจารณาจากจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของโครงการที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ในเบื้องต้นได้กำหนดแนวเส้นทางเลือกของโครงการไว้จำนวน 4 เส้นทาง ดังนี้ แนวเส้นทางเลือกที่ จุดเริ่มต้นแนวเส้นทางอยู่บนทางหลวงหมายเลข 3156 บริเวณ กม. 0+850 บ้านหนองปรือ ต.แหลมงอบ อ.แหลมงอบ โดยแนวเส้นทางจะมุ่งตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านพื้นที่เกษตรกรรม และตัดผ่านขอบพื้นที่ศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติ ตัดผ่านถนนอนุสรณ์สถาน และเข้าสู่พื้นที่ทะเล จากบริเวณระหว่างท่าเรือกรมหลวงชุมพร และท่าเรือเฉลิมพล จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งตรงไปที่เกาะช้าง ตัดผ่านเส้นทางการเดินเรือ และไปเชื่อมเข้ากับ ถนนอบจ.ตร.10026 บริเวณ กม. 8+550 บ้านด่านใหม่ ต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง


สำหรับจุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางที่บ้านหนองปรือ จะตัดผ่านพื้นที่อยู่อาศัยบ้างเล็กน้อย ส่วนในทะเลจะตัดผ่านเส้นทางเดินเรือต่าง ๆ ซึ่งแนวเส้นทางต้องยกสูงเพื่อให้เรือชนิดต่าง ๆ สามารถลอดผ่านได้ โดยจุดสิ้นสุดของแนวเส้นทางที่เกาะช้างจะตัดผ่านพื้นที่นันทนาการ และมีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยประปรายไม่หนาแน่น ทั้งนี้แนวเส้นทางเลือกที่ มีระยะทางประมาณ 9.2 กิโลเมตร แนวเส้นทางเลือกที่ จุดเริ่มต้นแนวเส้นทางจะเป็นตำแหน่งเดียวกันกับแนวเส้นทางเลือกที่ ซึ่งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 3156 บริเวณ กม.0+850 โดยแนวเส้นทางจะมุ่งตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านพื้นที่เกษตรกรรม และตัดผ่านขอบพื้นที่ศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติ ตัดผ่านถนนอนุสรณ์สถานและเข้าสู่พื้นที่ทะเล จากบริเวณระหว่างท่าเรือกรมหลวงชุมพรและท่าเรือเฉลิมพล จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งตรงไปที่เกาะช้าง ตัดผ่านเส้นทางการเดินเรือ แล้วไปเชื่อมเข้ากับถนน อบจ.ตร.10026 บริเวณ กม.6+750 บ้านด่านใหม่ ต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง
สำหรับจุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางที่บ้านหนองปรือจะตัดผ่านพื้นที่อยู่อาศัยบ้างเล็กน้อย ส่วนในทะเลจะตัดผ่านเส้นทางเดินเรือต่างๆซึ่งแนวเส้นทางต้องยกสูงเพื่อให้เรือชนิดต่างๆสามารถลอดผ่านได้ ส่วนบริเวณก่อนถึงชายฝั่งของเกาะช้างแนวเส้นทางจะต้องยกข้ามพื้นที่ปะการัง ซึ่งมีความกว้างประมาณ 100 เมตร โดยจุดสิ้นสุดของแนวเส้นทางที่เกาะช้างจะตัดผ่านพื้นที่นันทนาการ และมีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยประปรายไม่หนาแน่น ทั้งนี้แนวเส้นทางเลือกนี้มีระยะทางประมาณ 9.95 กิโลเมตร เส้นทางเลือกที่ จุดเริ่มต้นแนวเส้นทางอยู่บนทางหลวงชนบทหมายเลข ตร. บริเวณ กม.+ บ้านธรรมชาติล่าง ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ โดยแนวเส้นทางจะมุ่งตรงไปทางทิศใต้ ผ่านพื้นที่เกษตรกรรม และเข้าสู่พื้นที่ทะเล จากบริเวณด้านทิศตะวันตกของท่าเทียบเรือประมงพื้นบ้านธรรมชาติล่าง จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งตรงไปที่เกาะช้าง ตัดผ่านเส้นทางการเดินเรือ แล้วไปเชื่อมเข้ากับถนน อบจ.ตร.10026 บริเวณ กม.5+300 บ้านด่านใหม่ ต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง
สำหรับบริเวณจุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางที่บ้านธรรมชาติล่าง จะตัดผ่านพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชนบ้างเล็กน้อย ส่วนในทะเลจะตัดผ่านเส้นทางเดินเรือต่าง ๆ ซึ่งแนวเส้นทางต้องยกสูงเพื่อให้เรือชนิดต่าง ๆ สามารถลอดผ่านได้ ส่วนบริเวณชายฝั่งของเกาะช้างแนวเส้นทางจะต้องยกข้ามพื้นที่ปะการัง ซึ่งมีความกว้างประมาณ 100-200 เมตร โดยจุดสิ้นสุดของแนวเส้นทางที่เกาะช้าง จะตัดผ่านพื้นที่นันทนาการ และมีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยประปรายไม่หนาแน่น ทั้งนี้แนวเส้นทางเลือกนี้มีระยะทางประมาณ 5.90 กิโลเมตร แนวเส้นทางเลือกที่ จุดเริ่มต้นแนวเส้นทางอยู่บนทางหลวงชนบท หมายเลข ตร. บริเวณ กม. 3+50 บ้านธรรมชาติล่าง ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ โดยแนวเส้นทางจะมุ่งตรงไปทางทิศใต้ ผ่านพื้นที่เกษตรกรรม และเข้าสู่พื้นที่ทะเล จากบริเวณด้านทิศตะวันตกของท่าเรืออ่าวธรรมชาติ แนวเส้นทางจะมุ่งตรงไปที่เกาะช้าง ตัดผ่านเส้นทางการเดินเรือ แล้วไปเชื่อมเข้ากับถนน อบจ.ตร.10026 บริเวณ กม.1+900 บ้านคลองสน ต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง


สำหรับบริเวณจุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางที่บ้านธรรมชาติล่าง จะตัดผ่านพื้นที่เกษตรกรรม ส่วนในทะเลจะตัดผ่านเส้นทางเดินเรือต่างๆซึ่งแนวเส้นทางจะต้องยกสูง เพื่อให้เรือชนิดต่างๆ สามารถลอดผ่านไป-มาได้ ส่วนบริเวณก่อนถึงชายฝั่งของเกาะช้าง แนวเส้นทางจะต้องยกข้ามพื้นที่หญ้าทะเล ซึ่งมีความกว้างประมาณ -200 เมตร โดยจุดสิ้นสุดของแนวเส้นทางที่เกาะช้างจะตัดผ่านพื้นที่นันทนาการ และมีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชนประปรายไม่หนาแน่นเส้นทางเลือกนี้จะมีระยะทาง ประมาณ 5.59 กิโลเมตร ทั้งนี้ การการศึกษาความเหมาะสมและเปรียบเทียบ แนวเส้นทางเลือกแต่ละเส้นทาง เพื่อให้ประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบ เสนอความคิดเห็น จะได้นำข้อมูลไปพิจารณาอย่างรอบด้าน เพื่อกำหนดเส้นทางที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์มากที่สุด สำหรับการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้ เสียงของชาวเกาะช้างส่วนใหญ่เห็นด้วย กับโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้างหรือสะพานข้ามเกาะช้าง
ภาพ/ข่าว วรโชติ เกาะช้าง-วิเชียร ม่วงสี ทีมข่าวภูมิภาค/รายงาน