อุบลราชธานี – ผู้สมัคร นายก อบจ อุบล เร่งหาเสียงขอคะแนนโค้งสุดท้าย
อุบลราชธานี – ผู้สมัคร นายก อบจ อุบล เร่งหาเสียงขอคะแนนโค้งสุดท้าย
มาดาม กบ จิตรวรรณ ฯ ยันกระแสตอบรับชิงนายก อบจ. อุบลราชธานี ดีมาก ชี้ นโยบายที่วางไว้ครอบคลุมการพัฒนาทุกพื้นที่ในจังหวัดอุบลราชธานี เผยชาวบ้านขอเน้นเรื่องน้ำ ราคาสินค้าเกษตร พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มั่นใจหากประชาชน เชื่อมั่นเลือกเข้าไปพร้อมทำงานได้ทันที
บรรยากาศการหาเสียงนายก อบจ. อุบลราชธานี โค้งสุดท้าย ก่อนเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 22 ธค.2567 นี้ โดยเมื่อช่วงเวลา 17.00 น. เป็นต้นมาวันนี้ ( 18 ธค.2567 ) นางจิตรวรรณ หรือ มาดาม กบ หวังศุภกิจโกศล ผู้สมัครนายก อบจ.อุบลราชธานี นาม อิสระ เบอร์ 3 เปิดเวทีปราศรัยกับประชาชนในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี ที่บริเวณลานวัดพระธาตุหนองบัว โดยมีประชาชนนับ 1.000 คน เข้าร่วมในการรับฟังนโยบายการปราศรัยของนางจิตรวรรณ หรือ มาดาม กบ หวังศุภกิจโกศล ผู้สมัครนายก อบจ. เบอร์ 3 ซึ่งกล่าวถึงภาพรวมของตนที่ต้องการเข้ามาบริหารจังหวัดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เลิกอำนาจเก่าๆ ที่เคยทำมา และเร่งพัฒนาชีวิตประชาชนให้ดีกว่านี้ เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณของ อบจ. แต่ละปีมีงบมหาศาล โดยเงินก้อนนี้สามารถพัฒนาชีวิตประชาชนชาวอุบลราชธานีให้มีชีวิตที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งการลงพื้นที่หาเสียงตนได้ลงพื้นที่เพื่อหาเสียง ครอบคลุมทั้ง 25 อำเภอ และ ทุกซอกทุกมุ่ม ซึ่งกระแสตอบรับถือว่าดีมากๆ เวลาลงพื้นที่ไหนจะมีชาวบ้านเข้ามาทักทายให้กำลังใจ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง รวมถึงพูดคุยถึงปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการขาดแคลนน้ำ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ซึ่งตรงนี้ถือว่า ตรงกับนโยบาย 3 ดี ที่ได้วางเอาไว้ คือ นโยบายการจัดหาแหล่งน้ำแบบบูรณาการ จัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนทุกภาคส่วน และนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงรุก รักษาแหล่งท่องเที่ยวเดิม และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
นางจิตรวรรณ ฯ กล่าวว่า จังหวัดอุบลราชธานี มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิศาสตร์ แต่ละพื้นที่จะมีจุดเด่นจุดด้อยที่ต้องพัฒนาแตกต่างกันไป แต่เราสามารถนำความแตกต่างในจุดนั้นมาเป็นจุดขาย เช่น พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาสามารถท่องเที่ยวได้ทั่วจังหวัด ซึ่งจะเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในจังหวัด แต่ทั้งนี้เราต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบการขนส่งให้ครอบคลุมทั่วถึงด้วย
นางจิตรวรรณ ฯ กล่าวต่อว่า นอกจากจะลงพื้นที่หาเสียงควบคู่ไปกับการฟังปัญหาในพื้นที่ต่างๆ ว่าชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะตรงกับนโยบายที่เราได้วางเอาไว้ จากนโยบายที่ได้วางเอาไว้ ถือว่าครอบคลุมการพัฒนาในทุกพื้นที่ ซึ่งถ้าหากเราได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องประชาชนเลือกเข้าไปบริหารจังหวัดอุบลราชธานี เราพร้อมที่จะทำงานได้ทันที ขอให้พี่น้องชาวอุบลราชธานี เชื่อมั่นและมั่นใจ เราจะร่วมขับเคลื่อนอุบลราชธานีไปด้วยกัน อุบลโปร่งใส นายกใหม่สร้างสรรค์ ที่ตนได้แจ้งนโยบายไว้ตลอดการหาเสียง และ ขอให้พี่น้องชาวอุบลราชธานีเลือกตนผู้สมัครนายก อบจ.อุบลราชธานี เบอร์ 3 เข้าไปบริหารจังหวัดในสมัยนี้ และ หากว่าการบริหารงานของตนไม่เป็นไปตามจริงในระยะ 4 ปี ตนพร้อมลงจากตำแหน่งและกราบขอโทษประชาชนที่ไว้วางใจตนอีกด้วย
สำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ. อุบลราชธานี ซึ่งกำหนดลงคะแนนเสียงในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 มีผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้น 4 คน คือ นายกานต์ กัลป์ตินันท์ ผู้สมัครหมายเลข 1 จากพรรคเพื่อไทย อดีตนายก อบจ. ที่ผ่านมา และ นายนายสิทธิพล เลาหะวนิช ผู้สมัครหมายเลข 2 พรรคประชาชน อดีต รองนายก อบจ. ที่ผ่านมาเช่นกัน และนางจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล ผู้สมัครหมายเลข 3 และ นายอธิปไตย คุ้ยศรีมงคล ผู้สมัครหมายเลข 4 ซึ่งเป็นผู้สมัครอิสระ เพียง 2 คน แต่ผู้สมัคร หมายเลข 3 อาจจะมีกลุ่มก้อนสีน้ำเงินหนุนหลังอยู่มาก
ส่วนการแข่งขันครั้งนี้ ก็เป็นการขับเคี่ยวระหว่างพรรคเพื่อไทย ที่มี นายกานต์ กัลป์ตินันท์ ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย กับนางจิตรวรรณ หรือ มาดาม กบ หวังศุภกิจโกศล ผู้สมัครอิสระ ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคค่ายสีน้ำเงิน และ พรรคพวกจากอีกหลายพรรคที่มี สส กระจายอยู่ตามเขตต่างๆ ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เพราะอุบลราชานี มี สส. อยู่ถึง 5 เขต 5 คน จึงถือว่า เป็นคู่แข่งคนสำคัญของพรรคเพื่อไทยที่อาจจะพลาดเก้าอี้ นายก อบจ. ในสมัยนี้ จึงเป็นที่จับตาดูอีกจังหวัด เพราะหากผู้สมัครจากค่ายเพื่อไทยพายต่อการเปลี่ยนแปลง คาดว่ามีผลอย่างแรงต่อกลุ่มการเมืองระดับชาติ ( สส ) แน่ ๆ
จบข่าว